
โรงเรียนกวดวิชาชัยพฤกษ์(โปรคาเด็ท) กวดวิชาเข้าเตรียมทหารอันดับ 1 จ.สุพรรณบุรี
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ทดสอบตาบอดสี
Plate 1
ตาปกติ และตาบอดสี จะอ่านได้หมายเลขเดียวกันคือ 12

Plate 3
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 29
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

Plate 5
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 3
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 5
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 3
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 5
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้

Plate 7
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 74
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 21
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 74
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 21
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้

Plate 9
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้


Plate 15
ตาปกติจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
ตาปกติจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
Plate 17
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 42
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 42

ตาปกติจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียว จะสามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
Plate 21
ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีส้มจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง
ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีส้มจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง

ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีส้ม จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีฟ้า-เขียว จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง
เป็น อย่างไรกันบ้างคะกับการทำแบบทดสอบ ตาบอดสี ถ้าหากรู้สึกเข้าข่ายว่าเราจะเป็น ตาบอดสี ลองไปตรวจที่โรงพยาบาลอีกครั้งเพื่อความแน่นใจนะคะ จะได้ไม่มีปัญหากับการดำเนินชีวิตของเรา และแพทย์จะได้แนะนำการดูแลรักษาดวงตาของเราอีกด้วย
ตาบอดสี
“ตา” เป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้น ๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สำหรับครั้งนี้ จะกล่าวถึงภาวะ ” ตาบอดสี ” เพราะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ในสังคมมากพอสมควรกระบวนการรับรู้และแยกความแตกต่างของสี
ความ สามารถในการรับรู้และแยกความแตกต่างระหว่างสีต่าง ๆ นั้นเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ เพราะตั้งแต่เด็กเราได้รับการสั่งสอนให้เรียกชื่อสีต่าง ๆ ที่เราเห็นตามผู้สอน หากแต่สีที่แต่ละบุคคลรับรู้นั้นอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเซลล์รับแสงสี (cone photoreceptor) ที่จอประสาทตาโดยสัมพันธ์กับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกสอนมา ดังนั้นเราอาจเห็นสีผิดปกติตั้งแต่เกิด แต่สามารถเรียกชื่อสีได้ถูกต้องตามผู้สอนก็เป็นไปได้ หรือเกิดจากโรคภัยต่าง ๆ ที่มีผลโดยตรงกับจอประสาทตา, เส้นประสาทตาและสมอง
ความผิดปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด ตาทั้ง 2 ข้างจะมีอาการมองเห็นสีผิดปกติเหมือนกัน คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่สามารถเห็นสีได้ปกติ จะต้องมีเซลล์รับแสงสีที่จอประสาทตาครบทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน และมีปริมาณเม็ดสีในเซลล์ที่ปกติ รวมทั้งระบบประสาทตาและการแปลผลที่เป็นปกติด้วย โดยทั่วไป ภาวะมองเห็นสีผิดไปจากปกติจะพบในผู้ชายประมาณร้อยละ 8 ผู้หญิง ร้อยละ 0.4 การที่พบโรคนี้ในผู้ชายมาก ทั้งนี้เพราะ ความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม x และ มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x – link recessive จากแม่ไปสู่บุตรชาย (ดังเป็นที่ทราบกันดีว่าการให้กำเนิดบุตรเป็นชาย บุตรชายนั้นจะต้องได้รับ โครโมโซม “x”จากแม่และโครโมโซม “y”จากพ่อ รวมกันเป็นเพศชาย คือ เป็นโครโมโซม “xy” หากเป็น โครโมโซม x จากแม่เป็นตัวที่มีตาบอดสีอยู่ บุตรชายที่เกิดมาจะแสดงถึงภาวะ ตาบอดสี ส่วนบุตรสาวจะมีโครโมโซม “x” ทั้งจากพ่อและแม่รวมกันเป็น “xx” หาก x จากแม่ผิดปกติจะถูกข่มโดย “x” โครโมโซมของพ่อ ดังนั้นในบุตรสาวที่มีความผิดปกติในโครโมโซม x จากแม่ตัวเดียวส่วนของพ่อนั้นปกติ จะไม่มีอาการตาบอดสีปรากฎ) ผู้ป่วยมักมีการ
รับรู้สีเขียวหรือแดงผิดไป แยกสีเขียวกับแดงได้ลำบาก ส่วนความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีน้ำเงินนั้นถูกควบคุมด้วยยีนบน โครโมโซม 7 จึงมีการถ่ายทอดแบบ Autosomal dominant ซึ่งจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อย
2. กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง เกิดจากการถูกทำลายของจอประสาทตา เส้นประสาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมอง จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด อุบัติเหตุ เนื้องอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา หรือผลข้างเคียงจากยาหรือสารเคมี ผู้ป่วยมักจะมีอาการเรียกชื่อสีหรือเห็นสีผิดไปจากเดิม โดยมากพบความผิดปกติของการมองสีน้ำเงินเหลืองมากกว่าแดงเขียว ความผิดปกติของตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเป็นตาเดียวหรือทั้ง 2 ตา มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงได้ รวมทั้งมีความผิดปกติของสายตาด้านอื่น ๆ เช่น การมองเห็นและลานสายตาลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค ตรวจ และวินิจฉัย โดยจักษุแพทย์จะซักประวัติ อาการผู้ป่วยร่วมกับการตรวจการรับรู้ของสี และตรวจตา เพื่อหาสาเหตุแผนการรักษา การตรวจอาจใช้เครื่องมือช่วยการตรวจหลายอย่าง เช่น ให้อ่านสมุดภาพ Ishihara, ให้ทดสอบเรียงเม็ดสีตามแบบที่กำหนดไว้
การดูแลรักษาตนเองเมื่อได้รับการรักษาแล้ว
หากเป็นแบบที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ยังไม่พบวิธีรักษาที่ได้ผล ส่วนประเภทที่เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อจอประสาทและเส้นประสาทตา เมื่อเกิดอาการมองเห็นสีผิดปกติไปให้รีบมารับการตรวจรักษา อาจป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติถาวรได้
ข้อควรจำ
ใน ผู้ป่วยที่มีภาวะ ตาบอดสี แต่กำเนิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำถึงโอกาสการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและโอกาสหลีก เลี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะ ตาบอดสี ในหมู่ญาติ ส่วนผู้ที่มีภาวะ ตาบอดสี ภายหลัง ควรรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุ เพื่อแพทย์จะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
เทคนิคการสอบพละ
เทคนิคการสอบพละ
1.ดึงข้อราวเดี่ยว
ท่าเตรียม ให้ผู้ทดสอบจับราวเดี่ยวแบบมือคว่ำกำรอบ ปล่อยตัวให้ตรงจนแขน ลำตัว และขาเหยียดตรงท่าปฏิบัติ ให้ผู้ทดสอบทำท่าต่จากท่าเตรียม โอยงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว แล้วปล่อยตัวลงสู่ท่าเตรียม กระทำติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งที่มากที่สุด ห้ามแกว่งเท้าหรือเตะขา หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า 3-4 วินาทีหรือไม่สามารถดึงขึ้นพ้นราวได้ 2 ครั้งติดต่อกัน หรือดึงขึ้นไม่พ้น ให้หยุดทำการทดสอบ
ถ้าทำได้ 20 ครั้ง จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ 7 ครั้ง จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
2.วิ่งเก็บตัว (วิ่งเก็บของ)
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม พร้อมจะปฏิบัติ ท่าปฏิบัติ เมื่ได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ทดสอบวิ่งอย่างเร็วจากเส้นเริ่มไปหยิบท่อนไม้ ท่อนที่ 1 ซึ่งวางอยู่ภายในวงกลมรัศมี 1 ฟุต กลับมาวางภายในวงกลมหลังเส้นเริ่ม ( ห้ามโยนท่อนไม้ ถ้าวางไม่เข้าวงกลมต้องเริ่มต้นใหม่ ) แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนที่ 2 แล้ววิ่งกลับผ่านเส้นเริ่มต้นไปโดยไม่ต้องวางไม้ท่อนที่ 2 ลงถ้าทำได้ 9.5 วินาที จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ 11 วินาที จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
3.ลุกนั่ง 30 วินาที
ท่าเตรียม ให้ผู้ทดสอบนอนหงาย เข่าทั้งสองงอเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณฝ่ามือทั้งสองประสานกันที่ท้ายทอย ผู้ช่วยคุกเข่าอยู่บนปลายเท้าของผู้ทดสอบโดยเอามือทั้งสองกดข้อเท้าของผู้ทดสอบไว้ให้ส้นเท้าติดพื้นท่าปฎิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม ให้ผู้ทดสอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศรีษะลงระหว่างเข่าทั้งสองให้แขนทั้งสองแตะกับเข่าแล้วกลับลงนอนสู่ท่าเตรียมจนศอกแตะกับพื้น ทำเช่นนี้ติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากๆที่สุดภายใน 30 วินาที ในขณะปฏิบัตินิ้วมือประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา และขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอนตัวไปมา
ถ้าทำได้ 25 ครั้ง จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ 19 ครั้ง จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
4.วิ่งระยะสั้น ( 50 เมตร)
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่มในลู่วิ่งของตนเองพร้อมจะปฏิบัติท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งอย่างเร็วออกจากเส้นเริ่มจนผ่านเส้นชัย
ถ้าทำได้ไม่เกิน 5.5 วินาที จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ 7 วินาที จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
5.ยึดพื้นหรือดันข้อ (สอบในเหล่า ของ ตร.)
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบนอนคว่ำมือยันพื้น แขนทั้งสองเหยียดตรงห่างกันพอประมาณ ลำตัวเหยียดตรงปลายเท้าจรดพื้นเงยศรีษะขึ้นท่าปฏิบัติ ผู้ทดสอบทำต่อจากท่าเตรียม โดยยุบแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกันให้บริเวณหน้าอกแตะพื้น แล้วดันลำตัวขึ้นกลับสู่ท่าเตรียม ทำเช่นนี้ให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ห้ามทำตัวแอ่น หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือแขนทั้งสองข้างขึ้นไม่พร้อมกัน หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า 3-4 วินาที หรือไม่สามารถดันขึ้นสู่ท่าเตรียมเกินกว่า 3-4 วินาที ให้หยุดการทดสอบ
ถ้าทำได้ 54 ครั้ง จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ 27 ครั้ง จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
5.นั่งงอตัว (สอบในเหล่าของ ทบ. ทร. ทอ.)
ท่าเตรียมผู้ทดสอบ นั่งยืดขาเหยียดตรงยันเข้าไปยังบริเวณท่อนไม้ พร้อมทำนำแขนทั้งสองข้างยื่นไปข้างหน้า ลำตัวโค้งไปการงอตัวของร่างกายท่าปฏิบัติ ผู้ทดสอบทำต่อจากท่าเตรียม โดยพยายามยืดลำตัวโน้มกดให้ช่วงแขนทั้งสองข้างยื่นไปข้างหน้าปลายนิ้วมือเหยียดให้สุด นับระยะการยืดของช่วงแขน
ถ้า ทำได้ 20 เซนติเมตร จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ 9 เซนติเมตรจะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
6.ยืนกระโดนไกล
ท่าเตรียม ผู้สอบยืนบนพื้นที่เรียบหลังเส้นกระโดด ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้น หันหน้าไปทางทิศทางที่จะกระโดดท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้เริ่มปฏิบัติ ให้ผู้ทดสอบกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุด (โดยใช้การแกร่งแขนช่วย) วัดระยะทางกระโดดจากเส้นกระโดดไปยังจุดที่ส้นเท้าลงบนพื้นไกลเส้นเริ่มต้นมากที่สุด
ถ้าทำได้ 2.5 เมตร จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ 2.25 เมตร จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
7.วิ่งระยะไกล ( 1000 เมตร)
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม เตรียมตัวปฏิบัติท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งจากเส้นเริ่มไปตามทางวิ่งจนสิ้นสุดระยะทางโดยผ่านเส้นชัย
ถ้าทำได้ไม่เกิน 3.18 นาที จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ 4.32 นาที จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
ผู้ที่สอบวิ่งระยะไกลทำเวลาเกินกว่า 5 นาที 22 วินาที หรือวิ่งไม่ถึง จะไม่รวมคะแนนการสอบพละศึกษาทุกประเภท และถือว่าสอบพละศึกษาตก
8.ว่ายน้ำ 50 เมตร
ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนที่ขอบสระพร้อมจะปฏิบัตท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ทดสอบพุ่งตัวลงสระว่ายน้ำแล้วว่ายโดยเร็ว จนถึงขอบสระที่เป็นเส้นชัย การเข้าเส้นชัย ถือเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระที่เป็นเส้นชัย
ถ้าทำได้ 40 วินาที จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ 54 วินาที จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง
ผู้ที่สอบว่ายน้ำทำเวลาเกินกว่า 1 นาที 20 วินาที หรือว่ายน้ำไม่ถึงเส้นชัย จะไม่รวมคะแนนการสอบพละศึกษาทุกประเภท และถือว่าสอบพลศึกษาตก
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ประวัติโรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนเตรียมทหาร
ความสำคัญ
(Armed Forces Academies Preparatory School ) เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศกองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.)การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง หากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 3 ปี
ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหาร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พร้อมทั้งเข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ประวัติ
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้เสนอดำริต่อ สภากลาโหมว่า หากจะรวมโรงเรียน ที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกัน จากกองทัพต่าง ๆ เป็นสถาบันเดียวกันก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ ทั้งยังทำให้ผู้ศึกษามีโอกาสได้รู้จักคุ้นเคย มีความสนิทสนมกลมเกลียว มีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความคิดจิตใจร่วมกัน แต่เยาว์วัย ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเหล่านี้ สามารถประสานงานกันได้ด้วยดีและปฏิบัติงานร่วม กันอย่างมีประสิทธิภาพ สภากลาโหมได้เห็นชอบ ในดำรินี้เป็นเอกฉันท์ ในขั้นแรกให้รวมโรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนเตรียมนายเรือ และโรงเรียนเตรียมนายเรืออากาศ เป็นโรงเรียนเตรียมทหาร สังกัดกรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2501 จึงถือว่าวันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้าย วันสถาปนาโรงเรียน เตรียมทหาร ผู้บัญชาการคนแรกคือ พลเอก ปิยะ สุวรรณพิมพ์ ซึ่งถือว่าเป็นปูชนีย์บุคคลของโรงเรียนเตรียมทหารในปี พ.ศ. 2506 กรมตำรวจได้ขอให้โรงเรียนเตรียมทหาร รับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียน นายร้อยตำรวจด้วย โรงเรียน เตรียมทหารจึงเป็นศูนย์รวมเบื้องต้น สำหรับนาย ทหาร นายตำรวจ สมบูรณ์ครบถ้วยตามอุดมการณ์ที่ว่า "ความสามัคคี กลมเกลียว เป็นพลัง อันสำคัญของชาติ" ในระยะแรกนั้นโรงเรียนเตรียมทหารยังไม่มีที่ตั้งถาวรได้ใช้อาคารโรงเรียนนาย ร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2504 โรงเรียนเตรียมทหารได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้าง โรงเรียนเตรียมทหาร ขึ้น ณ เลขที่ 1875 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกองสัญญาณทหารเรือ มีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา หลังจากได้สร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ย้ายมาอยู่ที่พระราม 4
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2504 ในปี พ.ศ. 2522 กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชากรกองทัพบกและกองร้อยทหารสื่อสาร ซ่อมบำรุงเขตหลังกองบัญชาการกองทัพบก ได้ย้ายออกจากพื้นที่ที่อยู่ต่อ เนื่องกัน โรงเรียนเตรียมทหารจึงได้รับพื้นนที่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเพิ่ม อีก 91 ไร่ 62 ตารางวา รวมเป็น 127 ไร่ 9 ตารางวา
ในปี พ.ศ. 2537 พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในเวลานั้นได้พิจารณาว่า สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียนเตรียมทหารได้ เปลี่ยนแปลงไป พื้นที่โดยรอบกลายเป็นย่านชุมชนหนาแน่น ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมเป็นมลพิษ อีกทั้งพื้นที่ของโรงเรียนเตรียมทหารมีข้อจำกัดต่อการเพิ่มขีดความ สามารถในการผลิตนักเรียนเตรียมทหาร และการพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารด้านต่าง ๆ ในอนาคต จึงได้ปรึกษากับสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหาร ถึงการย้ายที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหาร ไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งได้รับการสนับสนุนการ ก่อสร้างจากสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์โดยได้มอบให้บริษัท คริสเตียน นีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ดำเนินการศึกษาความ เป็นไปได้ต่าง ๆ ของโครงการย้ายโรงเรียนเตรียมทหาร รวมทั้งเสนอแนะพื้นที่ตั้งโครงการ ในที่สุดได้เลือกพื้นที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ ได้รับ การสนับสนุนจากกองทัพบก เจ้าของพื้นที่มอบพื้นที่ให้ดำเนินการ ประมาณ 2,460 ไร่ เป็นผลให้โครงการก่อสร้าง โรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่เกิดขึ้น โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ ได้เริ่ม ดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนสิงหาคม 2539 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์
เมื่อวันอังคาร ที่ 27 มกราคม 2541 ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุด ได้มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายโรงเรียน เตรียมทหารมายังที่ตั้งแห่งใหม่ ณ เลขที่ 185 หมู่ 5 ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก กำหนดระยะเวลา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 และให้สามารถเปิดการศึกษาได้ในเดือนพฤษภาคม 2543 โดย มีพิธีเคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหาร เข้าสู่ที่ตั้งในวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2543
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2543 พลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรง ประกอบพิธีเปิดโรงเรียน โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้น สำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อ ในโรงเรียนนายร้อยพระ จุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.) การ รับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วย ตนเอง หากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียน เตรียมทหาร เป็นเวลา 3 ปี
ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้ จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก เมื่อสำเร็จการศึกษา จากโรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหาร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พร้อมทั้งเข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทำงานรับใช้ประเทศชาติด้วยเกียรติ ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจ


ตราประจำโรงเรียน
เครื่องหมายจักรดาว เป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนเตรียมทหาร ประกอบด้วยคบเพลิง หมายถึง การศึกษาและความรุ่งโรจน์
ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพบกและตำรวจ
จักรเวียนซ้าย หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพเรือ
ดาวห้าแฉก หมายถึง เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพอากาศ

ทำเนียบผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร
รายนามผู้บัญชาการ
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พล.ต. ปิยะ สุวรรณพิมพ์ | 27 มกราคม พ.ศ. 2501 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 |
2 | พล.ต .ชิงชัย รัชตะนาวิน | 13 มกราคม พ.ศ. 2515 - 30 กันยายน พ.ศ. 2520 |
3 | พล.ต. ไพบูลย์ สิรยากร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 - 30 กันยายน พ.ศ. 2523 |
4 | พล.ต. สนั่น ขยันระงับพาล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 30 กันยายน พ.ศ. 2525 |
5 | พล.ต. โกมล เกษรสุคนธ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2527 |
6 | พล.ต. นิยม ศันสนาคม | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2527 - 30 กันยายน พ.ศ. 2528 |
7 | พล.ต. ธีรวัฒน์ เอมะสุวรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 - 30 กันยายน พ.ศ. 2531 |
8 | พล.ต. ชัยณรงค์ หนุนภักดี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532 |
9 | พล.ต. พนม จีนะวิจารณะ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 30 กันยายน พ.ศ. 2534 |
10 | พล.ต. มนัส คล้ายมณี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536 |
11 | พล.ต. ปรีชา สามลฤกษ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2538 |
12 | พล.ต. ประพาฬ นิลวงศ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541 |
13 | พล.ต. สุเทพ โพธิ์สุวรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2544 |
14 | พล.ต. ธีระศักดิ์ ฤทธิวงศ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547 |
15 | พล.ต. พอพล มณีรินทร์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549 |
16 | พล.ต.พรพิพัฒน์ เบญญศรี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552 |
17 | พล.ต. รักบุญ มนต์สัตตา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554 |
18 | พล.ต.สุรสิทธิ์ ถาวร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 |
19 | พล.ต.บุญชู เกิดโชค | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 |
20 | พล.ต.ชัยชนะ นาคเกิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 |
21 | พล.ต.ชนินทร์ โตเลี้ยง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน |
วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ตัวอย่างระเบียบการสำหรับ นรต.หญิง ปี 58
ตัวอย่างระเบียบการสำหรับ นรต.หญิง ปี 58 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลภายนอก (หญิง) เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ ปีการศึกษา 2558 รายละเอียดดังนี้
กำหนดการคัดเลือก
จำนวนที่เปิดรับ
- ประเภทบุคคลภายนอก (หญิง) จำนวน 57 คน
- ประเภทบุคคลภายนอก (หญิง) เฉพาะโครงการสิทธิพิเศษแก่นักเรียน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นักเรียนจังหวัด นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, และสงขลา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทพา, อำเภอสะบ้าย้อย, อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ จำนวน 3 คน (ชาวไทยมุสลิม 2 คน ชาวไทยพุทธ 1 คน)
คุณสมบัติผู้สมัคร
ประเภทบุคคลภายนอก (หญิง)
- อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ และ ไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร ( ผู้ที่เกิดระหว่าง 30 มกราคม 2537 - 30 มกราคม 2542)
- สำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดารมารดาผู้ให้กำเนิดสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาผู้ให้กำเนิดจะมิใช่สัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
- มีขนาดร่างกายสูงไม่น้อยกว่า 160 เซนติเมตร
ประเภทบุคคลภายนอก (หญิง) เฉพาะโครงการสิทธิพิเศษแก่นักเรียน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นักเรียนจังหวัด นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, และสงขลา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทพา, อำเภอสะบ้าย้อย, อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ
- เป็นชาวไทยมุสลิม หรือชาวไทยพุทธ
- ต้องมีภูิลำเนาอยู่ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, และสงขลา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทพา, อำเภอสะบ้าย้อย, อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี
- ต้องได้รับการศึกษานะดับประถมศึกษา ป.1-ป.6 ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, และสงขลา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทพา, อำเภอสะบ้าย้อย, อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม(GPAX) ม.1-ม.3 ไม่ต่ำกว่า 2.50
- อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ และ ไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร ( ผู้ที่เกิดระหว่าง 30 มกราคม 2537 - 30 มกราคม 2542)
- สำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดารมารดาผู้ให้กำเนิดสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาผู้ให้กำเนิดจะมิใช่สัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
- มีขนาดร่างกายสูงไม่น้อยกว่า 160 เซนติเมตร
เกณฑ์การคัดเลือก
- การสอบข้อเขียน จำนวน 4 วิชา ได้แก่
ภาษาไทย คิดเป็น 200 คะแนน
วิทยาศาสตร์ คิดเป็น 200 คะแนน
คณิตศาสตร์ คิดเป็น 200 คะแนน
ภาษาอังกฤษ คิดเป็น 200 คะแนน
- การสอบพลศึกษา
- ดาวน์โหลด ระเบียบการรับสมัคร ประเภทบุคคลภายนอก (หญิง) คลิกที่นี่
- ดาวน์โหลด ระเบียบการรับสมัคร ประเภทบุคคลภายนอก (หญิง) เฉพาะโครงการสิทธิพิเศษแก่นักเรียน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นักเรียนจังหวัด นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, และสงขลา 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทพา, อำเภอสะบ้าย้อย, อำเภอนาทวี และอำเภอจะนะ คลิกที่นี่
- Website : ระบบรับสมัครออนไลน์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ คลิกที่นี่
- Website : โรงเรียนนายร้อยตำรวจ คลิกที่นี่
สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเปิดสอบตำรวจประจำปี 2559 จำนวน 5,000 อัตรา

เตรียมเปิดสอบตำรวจ ประจำปี 2559 จำนวน 5,000 อัตรา
ข่าวเปิดสอบตํารวจล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเปิดสอบตำรวจประจำปี 2559 จำนวน 5,000 อัตรา โดยรับสมัครจากผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
เพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.)
การเปิดสอบตำรวจประจำปี 2558 (การเปิดสอบตำรวจครั้งที่ผ่านมา)
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เปิดรับสมัครสอบบุคคลภายนอก ผู้มีวุฒิ ม.6 หรือ ปวช. เข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ (หลักสูตร นสต.) จำนวน 5,000 อัตรา ดังนี้
1. จากบุคคลทั่วไป จำนวน 4,000 อัตรา
2. จากทหารเกณฑ์ จำนวน 1,000 อัตรา
- คำแนะนำในการเตรียมตัวอ่านหนังสือติวสอบตำรวจ
- ขอบเขตวิชาที่ออกข้อสอบตำรวจ ประจำปี 2558

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
- เป็นบุคคลภายนอก เพศชาย (ยกเว้น สาย ปจ.3 รับเฉพาะเพศหญิง )
- มีอายุไม่ต่ำกว่า สิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่เกิน ยี่สิบเจ็ดปีบริบูรณ์
- สูงไม่น้อยกว่า 160 ซม. รอบอกไม่น้อยกว่า 77 ซม. (เพศหญิงต้องสูงไม่น้อยกว่า 160 ซม. ไม่วัดรอบอก)
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) หรือเทียบเท่า
2. รับสมัครทหารเกณฑ์ 1,000 อัตรา พ.ศ. 2558 การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลภายนอกผู้เป็นทหารกองหนุนที่เคยรับราชการในกองประจำการเข้ารับราชการเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวนดำรงตำแหน่งในสังกัด ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2558 ศชต.
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
- เป็นบุคคลภายนอก เพศชาย
- เคยเป็นทหารเกณฑ์มาก่อน (ไม่รับสมัครจากนักศึกษาวิชาทหาร)
- มีอายุไม่ต่ำกว่า สิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่เกิน ยี่สิบเจ็ดปีบริบูรณ์
- สูงไม่น้อยกว่า 160 ซม. รอบอกไม่น้อยกว่า 77 ซม.
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) หรือเทียบเท่า

การรับสมัครสอบ
กองบัญชาการศึกษารับสมัครทางอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ http://www.policeadmission.org ตั้งแต่วันที่ 11- 25 สิงหาคม 2558

สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)