วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทดสอบตาบอดสี


ตาบอดสี เป็นโรคชนิดหนึ่งของดวงตาเมื่อเป็นแล้วจะส่งผลให้การ แปรภาพของสีต่าง ๆ ที่มองเห็นผิดเพี้ยนไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตต่างๆ เช่น การสอบใบขับขี่ การสอบเข้าเรียนในสาขาต่างๆที่ต้องมีสายตาปกติ บางคนที่ ตาบอดสี มาตั้งแต่กำเนิดแต่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น เพราะเรียนรู้และจดจำสีต่างๆมาตั้งแต่เกิด จึงไม่รู้สึกว่าตัวเองผิดปกติ แต่พอไปตรวจกลับพบว่าตัวเอง ตาบอดสี ทำให้มีข้อจำกัดด้านต่างๆในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น บางคนอยากเรียนสาขานี้ แต่ไม่สามารถเรียนได้เพราะตาบอดสี วันนี้เรามีแบบทดสอบ ตาบอดสี มาฝากทุกๆคนกันค่ะ เริ่มกันเลย

plate1


Plate 1

ตาปกติ และตาบอดสี จะอ่านได้หมายเลขเดียวกันคือ 12






plate03
Plate 3

ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 29
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข70
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้



plate05
Plate 5
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 3
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 5
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้



plate07
Plate 7
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 74
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 21
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้



plate09
Plate 9
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้


plate11
Plate 11
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 7
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้



plate13
Plate 13
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 73
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้



plate15
Plate 15
ตาปกติจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 45
ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้




plate17

Plate 17
ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 42




plate19
Plate 19
ตาปกติจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียว จะสามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้







plate21
Plate 21
ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีส้มจาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง






plate23
Plate 23
ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีส้ม จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีแดง-เขียวจะลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีฟ้า-เขียว จาก X ไป X ได้
ตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง
เป็น อย่างไรกันบ้างคะกับการทำแบบทดสอบ ตาบอดสี ถ้าหากรู้สึกเข้าข่ายว่าเราจะเป็น ตาบอดสี ลองไปตรวจที่โรงพยาบาลอีกครั้งเพื่อความแน่นใจนะคะ จะได้ไม่มีปัญหากับการดำเนินชีวิตของเรา และแพทย์จะได้แนะนำการดูแลรักษาดวงตาของเราอีกด้วย






ตาบอดสี

“ตา” เป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้น ๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สำหรับครั้งนี้ จะกล่าวถึงภาวะ ” ตาบอดสี ” เพราะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ในสังคมมากพอสมควร

กระบวนการรับรู้และแยกความแตกต่างของสี
ความ สามารถในการรับรู้และแยกความแตกต่างระหว่างสีต่าง ๆ นั้นเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ เพราะตั้งแต่เด็กเราได้รับการสั่งสอนให้เรียกชื่อสีต่าง ๆ ที่เราเห็นตามผู้สอน หากแต่สีที่แต่ละบุคคลรับรู้นั้นอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเซลล์รับแสงสี (cone photoreceptor) ที่จอประสาทตาโดยสัมพันธ์กับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกสอนมา ดังนั้นเราอาจเห็นสีผิดปกติตั้งแต่เกิด แต่สามารถเรียกชื่อสีได้ถูกต้องตามผู้สอนก็เป็นไปได้ หรือเกิดจากโรคภัยต่าง ๆ ที่มีผลโดยตรงกับจอประสาทตา, เส้นประสาทตาและสมอง
ความผิดปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด ตาทั้ง 2 ข้างจะมีอาการมองเห็นสีผิดปกติเหมือนกัน คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่สามารถเห็นสีได้ปกติ จะต้องมีเซลล์รับแสงสีที่จอประสาทตาครบทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน และมีปริมาณเม็ดสีในเซลล์ที่ปกติ รวมทั้งระบบประสาทตาและการแปลผลที่เป็นปกติด้วย โดยทั่วไป ภาวะมองเห็นสีผิดไปจากปกติจะพบในผู้ชายประมาณร้อยละ 8 ผู้หญิง ร้อยละ 0.4 การที่พบโรคนี้ในผู้ชายมาก ทั้งนี้เพราะ ความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม x และ มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x – link recessive จากแม่ไปสู่บุตรชาย (ดังเป็นที่ทราบกันดีว่าการให้กำเนิดบุตรเป็นชาย บุตรชายนั้นจะต้องได้รับ โครโมโซม “x”จากแม่และโครโมโซม “y”จากพ่อ รวมกันเป็นเพศชาย คือ เป็นโครโมโซม “xy” หากเป็น โครโมโซม x จากแม่เป็นตัวที่มีตาบอดสีอยู่ บุตรชายที่เกิดมาจะแสดงถึงภาวะ ตาบอดสี ส่วนบุตรสาวจะมีโครโมโซม “x” ทั้งจากพ่อและแม่รวมกันเป็น “xx” หาก x จากแม่ผิดปกติจะถูกข่มโดย “x” โครโมโซมของพ่อ ดังนั้นในบุตรสาวที่มีความผิดปกติในโครโมโซม x จากแม่ตัวเดียวส่วนของพ่อนั้นปกติ จะไม่มีอาการตาบอดสีปรากฎ) ผู้ป่วยมักมีการ
รับรู้สีเขียวหรือแดงผิดไป แยกสีเขียวกับแดงได้ลำบาก ส่วนความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีน้ำเงินนั้นถูกควบคุมด้วยยีนบน โครโมโซม 7 จึงมีการถ่ายทอดแบบ Autosomal dominant ซึ่งจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อย
2. กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง เกิดจากการถูกทำลายของจอประสาทตา เส้นประสาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมอง จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด อุบัติเหตุ เนื้องอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา หรือผลข้างเคียงจากยาหรือสารเคมี ผู้ป่วยมักจะมีอาการเรียกชื่อสีหรือเห็นสีผิดไปจากเดิม โดยมากพบความผิดปกติของการมองสีน้ำเงินเหลืองมากกว่าแดงเขียว ความผิดปกติของตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน อาจเป็นตาเดียวหรือทั้ง 2 ตา มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงได้ รวมทั้งมีความผิดปกติของสายตาด้านอื่น ๆ เช่น การมองเห็นและลานสายตาลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค ตรวจ และวินิจฉัย โดยจักษุแพทย์จะซักประวัติ อาการผู้ป่วยร่วมกับการตรวจการรับรู้ของสี และตรวจตา เพื่อหาสาเหตุแผนการรักษา การตรวจอาจใช้เครื่องมือช่วยการตรวจหลายอย่าง เช่น ให้อ่านสมุดภาพ Ishihara, ให้ทดสอบเรียงเม็ดสีตามแบบที่กำหนดไว้
การดูแลรักษาตนเองเมื่อได้รับการรักษาแล้ว
หากเป็นแบบที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ยังไม่พบวิธีรักษาที่ได้ผล ส่วนประเภทที่เกิดจากโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อจอประสาทและเส้นประสาทตา เมื่อเกิดอาการมองเห็นสีผิดปกติไปให้รีบมารับการตรวจรักษา อาจป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติถาวรได้
ข้อควรจำ
ใน ผู้ป่วยที่มีภาวะ ตาบอดสี แต่กำเนิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำถึงโอกาสการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและโอกาสหลีก เลี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะ ตาบอดสี ในหมู่ญาติ ส่วนผู้ที่มีภาวะ ตาบอดสี ภายหลัง ควรรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุ เพื่อแพทย์จะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น